แชร์โพสนี้

ผลการเลือกตั้งอิตาลีส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอนต่อการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่นักวิเคราะห์จากภาคส่วนต่างๆ ชี้ว่า การที่พรรคแนวนโยบายขวาจัดอาจได้ขึ้นจัดตั้งรัฐบาลจะส่งผลกระทบอีกหลายด้าน

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งกว่าร้อยละ 99 ของการเลือกตั้งทั่วไปในอิตาลี ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ออกมาค่อนข้างแน่ชัดแล้ว โดยยังคงไม่มีพรรคใด สามารถกวาดคะแนนเสียงข้างมากในสภาไปได้ แม้แนวโน้มที่ว่านี้ จะยังไม่มีการประกาศ จากคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างเป็นทางการ ก็ตาม  

โดยเบื้องต้นพรรค Five Star Movement แนวนโยบายอิงฝ่ายขวา ซึ่งนำโดยนาย ลุยจิ ดี ไมโอ (Luigi di Maio) แกนนำพรรคคนรุ่นใหม่ วัยเพียง 31 ปี กวาดคะแนนสูงสุดเพียงพรรคเดียว ไปได้ที่ร้อยละ 32

รองลงมา คือ พรรคประชาธิปไตย ของอดีตนายกรัฐมนตรี มัตเตโอ เรนซี่ (Matteo Renzi) ซึ่งมีแนวนโยบายกลางซ้าย ได้ร้อยละ 18 (ตามตัวเลขจากหลายๆ เว็บ เช่น  The Guardian แต่ใน DW บอกร้อยละ 23) 

ขณะที่ กลุ่มการเมืองพันธมิตร อย่าง พรรค ฟอร์ซา อิตาเลีย (Forza Italia) แนวนโยบายขวากลาง ของอดีตนายก ซิลวีโอ แบร์ลุสโกนี (Silvio Berlusconi) และ พรรคขวาจัด อย่าง Northern League มีคะแนนรวมกันที่ ร้อยละ 37 

ส่วนพรรคชาตินิยมขวาจัด อีกหนึ่งพรรค อย่าง Lega ได้คะแนนร้อยละ 17.7 

ส่งผลให้การจัดตั้งรัฐสภาคราวนี้ เสมือนเเขวนอยู่บนเส้นด้าย เพราะคาดว่า แต่ละพรรคจะแข่งขันกันสรรหาแนวร่วมเพิ่มเติม เพื่อรวบรวมให้ฝ่ายตน ได้ครองเสียงข้างมากในสภาได้ในที่สุด ซึ่งอีกหนึ่งรูปแบบการรวมกลุ่ม ที่อาจจะเป็นไปได้ ตามการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ นั่นคือ

พรรค Five Star Movement ที่สามารถทำผลงาน กวาดคะแนนสูงสุดเพียงพรรคเดียวไปได้มากที่สุด อาจดึงพรรคขวาจัด อย่าง พรรค Lega เข้ามาเป็นแนวร่วม เนื่องจาก มีแนวนโยบายที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะในแง่ของการต่อต้านการตั้งถิ่นฐานของผู้อพยพ และ การต่อต้านสหภาพยุโรป 

ซึ่งการคาดการณ์นี้ เป็นไปตามท่าทีของ ดี ไมโอ ผู้นำของพรรค (Five Star Movement) ที่เมื่อวานนี้ กล่าวหลังผลเอ็กซิต โพลล์ ออกมาไม่นานว่า”ยินดี และ พร้อมแล้วสำหรับการเป็นผู้นำ”

สำนักข่าว Reuters ชี้ว่า สถาการณ์การเมืองในอิตาลี ที่มีแนวโน้มย้อนกลับสู่การปกครอง โดยกลุ่มขวาจัดอีกครั้ง สะท้อนว่า อาจส่งผลกระทบตามมาอีกหลายด้าน 

โดยนักวิเคราะห์ และ ผู้จับตาสถาการณ์ทางการเมือง ชี้ว่า การเมืองในอิตาลี อาจต้องอยู่ในสภาวะไม่แน่นอนนี้ ไปอีกราว 2 สัปดาห์ เพื่อรอการหารือในการจัดตั้งรัฐสภาชุดใหม่ ครั้งแรก ในวันที่ 23 มีนาคมนี้ 

ซึ่งแน่นอนว่า ตลอดระยะเวลา 2 สัปดาห์ (หรือ อาจใช้เวลามากกว่านั้น หากการหารือรอบแรกไม่เป็นผล) อิตาลี จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผันผวน จากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะเห็นได้จากตลาดซื้อขายสินทรัพย์ (Assets) ประเภทต่างๆ มีความผันผวน ตั้งแต่ช่วงการปิดหีบเลือกตั้งที่ผ่านมา
 
ขณะที่ บางฝ่ายคาดว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้ จะยึดหลักประชานิยม ในการสรรหาแนวร่วม เพื่อจัดตั้งรัฐบาลต่อไป และ บางพรรคอาจชูนโยบาย เกี่ยวกับการจัดตั้ง banking union หรือ สหภาพธนาคาร เพื่อหาพันธมิตร ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วย 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ของ reuters คาดหวังให้การรวมกลุ่มทางการเมือง สะท้อนความหลากหลาย ของกลุ่มผู้กุมอำนาจบริหารประเทศในอนาคต มากกว่า การกระจุกตัวของผู้มีแนวนโยบายเดียวกัน เพราะ อาจเสี่ยงทำให้เกิดกระเเสต่อต้าน ทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างสุดโต่งเกินไป

แนวโน้มการเมือง ที่อาจได้กลุ่มอิงฝ่ายขวาจัดขึ้นนั่งในสภา ยังส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ต่อสหภาพยุโรป (EU) โดยเฉพาะการหวั่นว่า รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลี จะผลักดันนโยบายต่อต้าน การตั้งถิ่นฐานของผู้อพยพ ให้ขยายตัว เป็นวงกว้างมากขึ้น รวมไปถึง อิตาลี อาจกลายมาเป็นแกนนำรัฐบาลชุดหลัก (จากบรรดาชาติสมาชิกทั้งหมด) ที่นำทีม กดดันให้ EU ต้องปฏิรูปองค์กรในหลายด้าน โดยเฉพาะ การผลักดันให้ชาติสมาชิก ไม่ต้องสนับสนนุนงบประมาณต่อ EU หรือ สนับสนุนในอัตราที่น้อยลง อีกด้วย (เนื่องกลุ่มขวาจัดนั้น เน้นนโยบายต่อต้าน EU) 

ไม่เว้นแม้แต่ สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดคือ การกระตุ้นแนวคิดเรื่องการถอนตัว จากการเป็นสมาชิกภาพอียู ตามรอยสหราชอาณาจักร ที่เคยลงประชามติ ไปเมื่อปี 2558 นั่นเอง 

โลกยามเช้า

ต้อนรับอรุณรุ่งของวันใหม่ กับ โลกยามเช้า และโลกยามเช้าสุดสัปดาห์ อัพเดทข่าวสารจากต่างประเทศก่อนใคร และสาระความรู้ ความบันเทิง จากทั่วทุกมุมโลก

  • วันออกอากาศ  จ-ศ เวลา 04.00 – 04.25น.
  • วันออกอากาศ  ส-อา เวลา 05.10-05.35น.
  • ช่อง 3HD ช่อง 33