แชร์โพสนี้
โรคไข้ซิกาที่แพร่ระบาดในหลายประเทศรวมถึงไทยที่ยังจำกัดอยู่ 4 จังหวัดขณะนี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งวิจัยวัคซีนป้องกัน และหาวิธีตรวจให้ได้ผลรวดเร็ว
ห้องปฏิบัติการโรคเขตร้อน ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในห้องแลปที่กรมควบคุมโรคได้นำยุงลายที่สุ่มตรวจในพื้นที่แพร่ระบาดไข้ซิกามาตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซิกา ในตระกูลเฟลวิไวรัส (flavivirus) ที่เป็นพาหะสู่คนหลังจากถูกยุงกัด ซึ่งสามารถทราบผลแบบเรียลไทม์ภายใน 4 ชั่วโมง แต่ยังไม่พบ
หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยาและอิมมิวโนโลยี บอกว่า ขณะนี้ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังวิจัยวัคซีนป้องกันไวรัสซิกา ขณะที่ไทยเน้นหาวิธีตรวจหาเชื้อให้ทราบผลอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทั้งนี้ยุงในหนึ่งตัวสามารถแพร่ได้ทั้งเชื้อเด่งกี่ โรคไข้เลือดออกและเชื้อฟราวิที่มาของไวรัสซิกา ซึ่งอาการจะใกล้เคียงกัน แต่ซิกาจะแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ ผ่านเลือดหรือทางเพศสัมพันธ์ แต่ไม่รุนแรงถึงตายเหมือนไข้เลือดออก เพียงแต่จะมีอาการผื่นที่ผิวหนังและเยื่อบุตาอักเสบร่วมด้วย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์หากติดเชื้อลูกที่เกิดมาจะศีรษะเล็ก
ทั้งนี้ระหว่างที่รอวัคซีนป้องกัน คนไทยไม่ควรตื่นตระหนกเพราะเป็นแล้วสามารถหายได้ โดยวิธีป้องกันง่ายที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด
ล่าสุดที่จังหวัดเชียงใหม่ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย อายุ 18 ปี และ 73 ปี จึงทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสซิกาในจังหวัดเชียงใหม่มียอดรวมทั้งสิ้น 9 ราย
ซึ่งขณะนี้ กรมสาธารณสุขเชียงใหม่ ได้ดำเนินการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อตามมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัดแล้ว